Members Login
Username 
 
Password 
    Remember Me  
Post Info TOPIC: Lao Marn Kaew : Tae Pang Korn
Anonymous

Date:
Lao Marn Kaew : Tae Pang Korn
Permalink   



http://www.youtube.com/watch?v=lyS76fKOHfg


http://www.youtube.com/watch?v=EUYHndpowfg

This is Lyrics of Lao Marn Kaew


Long Loi Ei   Jark Pimarn

Kham Srithandorn Trakarn   Soo Kwaen Daen Thai

Pinh Jorm Kwan   Pak Jai Pi Mun   Treung Maih

Kii Chart Kii Phop   Mai Mii Klorn Khlai

Rak Jao Mai Naih   Mai Khlai Jark Kan

---------------------------------------------------------------

Jaem Jan Kwan Fah   Koh Thep Theva Pen Phayan

Wan Dii Srisuk   Song Rao Samak Samarn
Pii Koh Rak Nongkhran   Joup Jonh Rak Narn Nirunkarn Ei

---------------------------------------------------------------
Dork Ei   Jao Dorn Jampa Lao

Tou Pii Rak Jao   Thao Thong Napa Ei




__________________
Anonymous

Date:
Permalink   












__________________
Anonymous

Date:
Permalink   

<object width="425" height="344"><param name="movie" value="http://www.youtube.com/v/PgIyunwIObU&hl=en&fs=1&"></param><param name="allowFullScreen" value="true"></param><param name="allowscriptaccess" value="always"></param><embed src="http://www.youtube.com/v/PgIyunwIObU&hl=en&fs=1&" type="application/x-shockwave-flash" allowscriptaccess="always" allowfullscreen="true" width="425" height="344"></embed></object>

This lakhorn is something to show that how much Thai people look down to Lao people.

__________________
Anonymous

Date:
Permalink   

http://www.youtube.com/watch?v=49uKwjhJC0I

__________________
Anonymous

Date:
Permalink   

This is a very romantic song. I watched the lakhorn and I think it was great and the scenes are beautiful.

__________________
Anonymous

Date:
Permalink   

This song is similar to Lao Duang Duan. The story behind this song is about a Siamese prince who lived during the late 19th century. The prince composed this song for a Lao princess, after his expedition to Laos (or maybe Northern Siam - Chiang Mai). Lao Duang Duan is also one of the best known Lao classical.

http://www.youtube.com/watch?v=zJ8goNo9XCA

__________________
Anonymous

Date:
Permalink   



เจ้านางน้อย .. ราชาวดี และ อันตรา แสดงโดย แอน ทองประสม

เจ้านางม่านแก้ว : หรือเจ้านางน้อยจากฝั่งลาวที่ชะตาฟ้าลิขิตให้มาพบรักกับท่านชายสูงศักดิ์ของฝั่งไทย เจ้านางน้อยเป็นเจ้าหญิงที่อ่อนโยน วาจาไพเราะอ่อนหวานกิริยาแช่มช้อย เป็นแม่เรือน รู้จักเจียมตน มีความเมตตา มีความเชี่ยวชาญทางด้านการใช้ภาษา ต่างประเทศ แถมยังมีพรสวรรค์ทางด้านดนตรี ซึ่งคุณสมบัติดีงามเหล่านี้ เป็นเหมือนดาบสองคม ที่ทำให้คนรักใคร่เอ็นดู และ เกลียดแค้นชิงชังการมองโลกในแง่ดี และ ไว้ใจคนมากเกินไป เป็นสาเหตุที่พาเจ้าน้อย พบกับจุดจบของชีวิตในที่สุด

ราชาวดี : คือเจ้านางน้อยกลับชาติมาเกิดใหม่ ราชาวดีเกิดมาในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่ทุกชีวิตต้องรู้จักดิ้นรนเพื่ออยู่รอด เธอจึงมีความเข้มแข็ง กล้าพูดกล้าแสดงความคิดเห็น เชื่อมั่นในคนเองต่างจากเจ้านางน้อยในอดีต แต่ที่ยังเหมือนเดิม คือ พรสวรรค์ในด้านดนตรีและหัวใจรักที่ยังคงภัคดีต่อ ม.จ.รังสิธร ตราบจนลมหายใจสุดท้ายของชีวิต

อันตรา : หญิงสาวซึ่งเป็นภาคที่ 3 ของเจ้านางน้อยและราชาวดี อันตราเป็นผู้หญิงตามแบบฉบับในยุค พ.ศ.นี้ คือนอกจากจะเป็นไฮโซ คาบช้อนเงินช้อน ทองมาเกิดแล้ว เธอยังเป้นผู้หญิงทำงาน คล่องแคล้ว คิดเร็วตักสินเร็ว ร่าเริง ขยันขันแข็ง มีความคิดริเริ่มใหม่ ๆ เสมอ มีรสนิยมเป็นเลิศทางด้านศิลปะ เชื่อในสัญชาตญาณของตัวเอง โดยเฉพาะเรื่องของหัวใจ



มจ. รังสิธร และ มล. จิราคม แสดงโดย ศรราม เทพพิทักษ์

ม.จ.รังสิธร : ชายหนุ่มสูงศักดิ์ผู้มีรักแท้รักเดียว ยึดมั่นถือมั่นในความรักของตนเอง ยอมเวียนว่าย อยู่ในวัฏฏสงสารแม้ปราศจากร่างกาย เพียงเพื่อรอคอยหญิงสาวอันเป็นที่รัก เป็นชาย ที่มีการศึกษาสูง มีนาคตยาวไกล มีความคิดเป็นของตัวเอง สุขุมเยือกเย็นและมีเหตุผล รักในเสียงเพลง มีพรสวรรค์ในการเล่นดนตีร อ่อนโยนกับทุกคนแต่น่าเสียดายที่บาด แผลฉกรรจ์อันเกิดจากการพลัดพรากจากหญิงอันเป็นที่รัก ทำให้ชายหนุ่มตรอมใจ และ จากโลกนี้ไปก่อนวัยอันควร

ม.ล.จิราธร : อดีต ม.จ.รังสิธรซึ่งกลับมาเกิดใหม่ จิรนาธรจึงมีรูปลักษณ์น่าตา และพรสวรรค์ทางด้าน ดนตรี ตลอดจนอุปนิสัยใจคอที่ถอดแบบมาจากท่านปู่ คือ ม.จ.รังสิธรทุกกระเบียดจะมีที่ แตกต่างไปบ้างก็เรื่องลักษณะความคิดที่เป็นคนรุ่นใหม่ในทศวรรษนี้



__________________
Anonymous

Date:
Permalink   

Story Board :

พ.ศ. 2490 “ราชาวดี” สาวน้อยวัย 17 ปี เมื่อจบการศึกษาแล้วก็ได้เดินทางมาที่โรงเรียนกุลนารี เพื่อสมัครเป็นครูตามความประสงค์ของมารดาที่ล่วงลับ ไปแล้ว “กาบทอง” อาจารย์ใหญ่ประจำโรงเรียนรับราชาวดีเข้าเป็นครูด้วยความเต็มใจ เพราะเธอกับแม่ของราชาวดีเคยรู้จักกันมาก่อน นับแต่ก้าวแรกที่ราชาวดีเหยียบย่างเข้ามาในเขตโรงเรียนซึ่งเป็นวังเก่าก็รู้สึกแปลก ๆ เพราะเหมือนมีใครตามเธออยู่ห่าง ๆ และยิ่ง “ถวิล” เพื่อนสนิทของเธอเล่าถึงความน่ากลัวของเสด็จในกรมฯ และท่านชายรังสิธรผู้เป็นโอรสและเจ้าของวัง ซึ่งล่วงลับไปแล้ว ยิ่งทำให้ราชาวดีสนใจวังนี้มากขึ้นไปอีก คืนแรกที่ราชาวดีเข้าพัก เธอก็ได้ฝัน ถึงวังอันรโหฐาน และเพลงไทยเดิมที่ชื่อ “ลาวม่านแก้ว” อันแสนไพเราะ และชายหนุ่มที่เรียกเธอว่า “เจ้านางน้อย” แต่ไม่ทันได้เห็นหน้าผู้ชายคนนั้นราชาวดี ก็สะดุ้งตื่นเสียก่อน

ราชาวดีต้องการหาคำตอบว่า สิ่งที่เธอฝันนั้นคืออะไร จึงแอบเข้าไปในวังซึ่งถูกทิ้งร้างมานานจนทรุดโทรม ที่นั่นราชาวดีได้พบกับ “จางวางจัน” ข้ารับใช้เก่าแก่ของเสด็จในกรมฯ ราชาวดียิ่งแปลกใจมากขึ้น เมื่อจางวางจันเรียกเธอว่า “เจ้านางน้อย” เหมือนผู้ชายคนนั้นในฝันของเธอ จางวางจันชวน ราชาวดี ไปที่ ตำหนักริมน้ำแต่เธอปฏิเสธ ระหว่างเดินทางกลับราชาวดีรู้สึกเหมือนมีใครบางคนดึงดูดเธอให้ตามเขาไปโดยไม่รู้ตัว ราชาวดีรู้สึกตัวอีกทีก็พบว่ายืนอยู่หน้าบ้านสีขาว ราวบ้านในเทพนิยาย เธอรู้ทันทีว่านี่คือตำหนักริมน้ำที่จางวางจันชวนเธอมา กาบทองพาราชาวดีไป กราบหม่อม “พรรณราย” เจ้าของโรงเรียน ทำให้ได้พบกับ “ม.ร.ว. จิรายุส” ลูกชายของหม่อมและ “สวรรยา” คู่หมั้น ทุกคนประหลาดใจที่ราชาวดีหน้าตาเหมือนเจ้านางน้อยไม่มีผิดเพี้ยน ราชาวดีหาโอกาสปลีกตัว ไปที่ตำหนักริมน้ำบ่อยครั้ง จนได้พบกับผู้ชายผู้เป็นเจ้าของตำหนัก เธอรู้สึกสนิทคุ้นเคยเหมือนรู้จักกันมานาน ชายคนนั้นให้ราชาวดี ดูรูปเจ้านางน้อยที่อยู่ในตำหนัก ทำให้ราชาวดีถึงกับหมดสติไป เพราะภาพที่เห็นช่างเหมือนตัวเธอราวคน ๆ เดียวกัน

เมื่อฟื้นจากสลบก็พบว่า ตนเองได้เข้ามาอยู่ปี พ.ศ.2453 ในสภาพเจ้านางน้อย ราชาวดีได้พบกับท่านชายใหญ่หรือ “ท่านชายรังสิธร” ซึ่งนั่นก็ทำให้เธอหมดสติไปอีกครั้ง เมื่อได้สติขึ้นมา คราวนี้ราชาวดีพบว่าตัวเองนอนสลบอยู่บนเตียง โดยมีบรรดาครูรุมล้อมด้วยความห่วงใย ถวิลเล่าให้ราชาวดีฟังว่าจางวางจัน พบเธอนอนสลบอยู่ในสวนหน้าวัง ราชาวดีสารภาพว่าเธอแอบเข้าไปที่ตำหนักริมน้ำ ราชาวดีได้พบวิญญาณท่านชายใหญ่อีกครั้งในงานประจำปีของโรงเรียน โดยเธอได้บรรเลงไวโอลินเพลง “ลาวม่านแก้ว” ทำให้ท่านหญิงวิไลเรขา ป้าแท้ๆ ของจิรายุส ขวัญผวา เพราะก่อนหน้านั้นวิไลเรขาเคยเป็นคู่หมั้นของท่านชายใหญ่ตามความเห็นชอบของผู้ใหญ่ แต่ท้ายที่สุดท่านชายใหญ่ก็ขอถอนหมั้นกับเธอ แล้วไปแต่งงานกับเจ้านางน้อย ส่วนเพลง “ลาวม่านแก้ว” เป็นเพลงที่ท่านชายใหญ่แต่งให้เจ้านางน้อย และถูกนำมาบรรเลงในวันแต่งงาน วิไลเรขาเกลียดราชาวดีเพราะคิดว่าเป็นเจ้านางน้อยกลับชาติมาเกิดเพื่อจองเวรกับเธอ ดังนั้นวิไลเรขาจึงแกล้งให้ราชาวดีมาอยู่รับใช้ช่วงปิดเทอม ราชาวดีถูกวางยาให้ป่วยทีละน้อย เหมือนที่วิไลเรขาเคยทำกับเจ้านางน้อยในอดีต

จิรายุส นำตัวราชาวดีส่งโรงพยาบาลโดยด่วน ซึ่งก็ทำให้วิไลเรขาโกรธมากจนป่วยหนัก ก่อนที่วิไลเรขาจะสิ้นลมเธอได้บังคับให้จิรายุสเต่งงานกับสวรรยา และหลังการแต่งงานจิรายุสก็หย่าขาดจากสวรรยา โดยมีลูกชายด้วย 1 คน คือ “จิราคม” ราชาวดีตัดสินใจลาออกจากการเป็นครูแล้วกลับมาที่อุดรฯ โดยมีวิญญาณ ของท่านชายใหญ่ติดตามมาเป็นกำลังใจ กระทั่งคืนหนึ่งท่านชายได้มาบอกลาเธอ ราชาวดีเสียใจที่จะไม่ได้พบท่านชายแล้ว แต่ถ้าเป็นการ จากลาเพื่อ ได้พบกันใหม่ราชาวดีก็ยินดี จากนั้นเธอก็ตัดกิเลสทางโลกเข้าวัดบำเพ็ญกุศล ราชาวดีป่วยหนัก เมื่อถวิลไปเยี่ยมก็พบเพียงร่างไร้วิญญาณของเธอ หลังจากนั้น ถวิลก็คลอดลูกคนที่สอง เธอตั้งชื่อว่า “อันตรา” กาบทองมาเยี่ยมถวิลที่บ้านและได้พบกับอันตราก็ถึงกับอึ้งไป เพราะอันตรามีหน้าตาเหมือนราชาวดีเหลือเกิน อันตราอาสามาส่งกาบทองที่บ้าน ทำให้เธอได้พบกับจิรายุส เมื่อจิรายุสได้พบอันตราก็รู้สึกเอ็นดู อันตราชอบตำหนักริมน้ำของจิรายุสมาก เธอพยายามขอ ซื้อแต่ ไม่สำเร็จ เพราะจิรายุสตั้งใจเก็บไว้มอบให้จิราคมในวันแต่งงาน อันตรามักจะไปที่ตำหนักริมน้ำบ่อย ๆ จนได้เจอจิราคม ทั้งคู่รู้สึกเหมือนมีกระแสไฟอ่อน ๆ แล่นพล่านไปทั้งตัว อันตราตกใจรีบหนีออกมา

แต่ทั้งคู่ ก็ต้องมาพบกันอีกครั้งในงานราตรี จิราคมเดี่ยวเปียโนเพลง “ลาวม่านแก้ว” ซึ่งอันตราโปรดปรานมาก เพราะแม่ของเธอเคยร้องให้ฟังตอนเธอเด็ก ๆ ความสัมพันธ์ของทั้งคู่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว จิรายุสไปทาบทามอันตรามาเป็นสะใภ้ พร้อมกับเปรยว่า การรอคอยของท่านชายใหญ่ และเจ้านางน้อยสมควรจะจบสิ้นลงได้แล้ว อุปสรรคต่าง ๆ ได้ผ่านพ้นไป ทั้งคู่เข้าสู่พิธีวิวาห์ และสัญญาต่อกันว่าจะดูแลกันไปจนแก่เฒ่า ท่ามกลางบรรยากาศหวานละมุนของเสียงเปียโน เพลง “ลาวม่านแก้ว” ที่จิราคมเซอร์ไพรส์เจ้าสาวในวันแต่งงาน



That's all I found on the internet

__________________
Page 1 of 1  sorted by
Quick Reply

Please log in to post quick replies.

Tweet this page Post to Digg Post to Del.icio.us


Create your own FREE Forum
Report Abuse
Powered by ActiveBoard